วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปักกิ่ง - พระราชวังต้องห้าม หรือ พระราชวังกู้กง



ปักกิ่ง (พระราชวังต้องห้าม หรือ พระราชวังกู้กง Forbidden City)


          จากที่เคยได้นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลกของเมืองปักกิ่งกันไปแล้วแห่งหนึ่่ง นั่นคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก แต่ที่ปักกิ่งยังมีอีกหลายสถานที่ ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดัง และเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก นั่นคือ พระราชวังต้องห้าม


           พระราชวังต้องห้าม หรือ พระราชวังกู้กง เป็นพระราชวังโบราณซึ่งยังคงเหลืออยู่ ตั้งอยู่ที่ใจกลางกรุงปักกิ่ง เป็นทั้งบ้านและชีวิตของจักรพรรดิในราชวงศ์หมิงและชิงรวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ พระราชวังเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 500 ปี มีชื่อในภาษาจีนว่า ‘กู้กง’ หมายถึงพระราชวังเดิม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘จื่อจิ้นเฉิง’ ซึ่งแปลว่า ‘พระราชวังต้องห้าม’ เหตุที่เรียกพระราชวังต้องห้าม เนื่องมาจากชาวจีนถือคติในการสร้างวังว่า จักรพรรดิเปรียบเสมือนบุตรแห่งสวรรค์ ดังนั้นวังของบุตรแห่งสวรรค์จึงต้องเป็น ‘ที่ต้องห้าม’ คนธรรมดาสามัญไม่สามารถล่วงล้ำเข้าไปได้

     พระราชวังต้องห้าม เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง ตั้งอยู่ด้านหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือจรดใต้ 961 เมตร กว้าง 753 เมตร มีกำแพงวังล้อมรอบ ยาว 3 กิโลเมตร สูง 10 เมตร มีคูน้ำล้อมรอบ กว้าง 52 เมตร มีประตูวัง 4 ประตู 4 ทิศ มีป้อมหอคอยกำแพงวังอยู่ 4 มุม ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง และมีพระที่นั่ง 75 องค์ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963

     ในอดีตภายในเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแล มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย

ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ วังหน้าและวังใน
    • วังหน้าเป็นเขตที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการ จัดงานพิธีต่างๆ รับเข้าเฝ้า
    • วังในเป็นเขตหวงห้าม ผู้ชายห้ามเข้า ยกเว้นขันทีเท่านั้น

วังหน้า มี 3 ตำหนัก เป็นศูนย์กลางที่สร้างอยู่บนเส้นแกนตรงกันเป็นเส้นตรง ดังนี้
     1.ตำหนักไถ่เหอ เป็นตำหนักด้านหน้าที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในพระราชวังหลวง ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูง 2 เมตรเศษ ล้อมรอบด้วยรั้วหินหยกขาว แกะสลักเป็นเมฆ มังกร และหงส์ สร้างในปีค.ศ. 1420 สมัยของพระเจ้าหย่งเล่อ กว้าง 11 เมตร ลึก 5 เมตร หลังคาซ้อน 2 ชั้น สูง 35 เมตร พื้นที่ 2,377 ตารางเมตร ปูด้วยอิฐ(ที่นวดด้วยแป้งทองคำ) ตรงกลางมีบัลลังก์มังกรสีทอง(มังกร 5 เล็บ สัญลักษณ์ของฮ่องเต้อันสูงส่ง) ใช้เป็นสถานที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการแผ่นดินรับการเข้าเฝ้าจากขุนนางขุนศึก ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและอาคันตุกะชาวต่างต่างประเทศ หลังคามุงกระเบื้องสีทอง(สีเฉพาะของฮ่องเต้เท่านั้น)

     2.ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักหลังที่ 2 อยู่ด้านหลังตำหนักไถ่เหอ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมียอดแหลม ใช้เป็นสถานที่พักรอก่อนออกว่าราชการแผ่นดิน รับการรายงานจากข้าหลวงชั้นใน รวมทั้งพิธีการจัดงานเข้าเฝ้า หากมีงานพิธีแต่งตั้งพระราชินีและจัดงานใหญ่ในพระราชวังจะต้องตรวจเอกสารความเรียบร้อยของงาน ณ ตำหนักแห่งนี้ล่วงหน้า 1 วัน

     3.ตำหนักเป่าเหอ เป็นตำหนักหลังที่ 3 อยู่หลังตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักใหญ่ มีพื้นที่เท่ากับตำหนักไถ่เหอ ภายในมีบัลลังก์ก่อสร้างโดยไม่มีเสาแถวที่ 2 ทำให้ห้องโถงด้านหน้าท้องพระโรงกว้างขึ้น ไม่บังสายพระเนตรพระองค์ฮ่องเต้ ใช้เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองบรรดาหัวหน้าชนเผ่ากลุ่มน้อยต่างๆทุกปี ในวันที่ 30 เดือน 12 (วันสิ้นปีของจีน) พิธีอภิเษกสมรสของฮ่องเต้หรือโอรสธิดา มาถึงในสมัยพระเจ้าเฉียนหลงใช้ที่นี่เป็นสถานที่สอบจอหงวน องค์ฮ่องเต้เป็นผู้ออกข้อสอบและคุมสอบด้วยพระองค์เอง โดยสอบในห้องท้องพระโรงแห่งนี้เอง

     ผู้ที่สอบได้ที่ 1 มีเพียงคนเดียวเท่านั้น จะได้เป็น “จอหงวน” และเป็นลูกเขยของฮ่องเต้
     ผู้ที่สอบได้ที่ 2 อาจมีหลายคน จะได้เป็น “ท่านฮั้ว” เป็นที่ปรึกษาประจำองค์ฮ่องเต้
     ผู้ที่สอบได้ที่ 3 อีกหลายคน จะเรียกว่า “ป่างเหี่ยน” ดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยฮ่องเต้



วังใน เป็นเขตต้องห้ามสำหรับผู้ชาย ทาสเพศชายที่จะเข้ามารับใช้ในวังได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนการตอนให้เป็นขันทีเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเสื่อมเสียกับมเหสีและเหล่านางสนมใน ขันทีมาจากชนชั้นยากจนเสียเป็นส่วนใหญ่ พวกพ่อค้าทาสจะลักพาตัวมาตั้งแต่เด็ก แล้วส่งไปให้คนของตระกูลไป่ในกรุงปักกิ่งทำการตอน ตอนเสร็จแล้วก็มีการออกใบรับรองส่งให้ราชสำนัก ขันทีที่ฉลาดมีการศึกษาอาจได้เป็นกุนซือหรืออาจารย์ในวังหลวง แต่ขันทีส่วนใหญ่ต้องทำงานหนักในโรงครัวและในสวนไปตลอดชีวิต ทำผิดเล็กน้อยก็จะถูกโบยถูกเฆี่ยนตี ทำผิดมากโชคไม่ดีก็อาจถูกตัดหัวได้ง่าย

     การได้เข้ามารับใช้ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์ ทำให้ขันทีบางคนสามารถกุมอำนาจเอาไว้ได้ สร้างความร่ำรวยให้ตนเองใช้ตำแหน่งใหญ่โตสร้างอิทธิพล แสวงหาทรัพย์สินเงินทองในทางมิชอบ จนสามารถซื้อบ้าน ที่ดิน ทำธุรกิจการค้านอกวังหลวง พอเกษียณแล้วจะย้ายออกไปอยู่ตามวัดที่ตนเองเคยให้การอุปถัมภ์ด้วยการบริจาคเงินจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ ในยุคราชวงศ์หมิงมีขันทีอยู่ในพระราชสำนักถึง 20,000 คน แต่ภายหลังก็ค่อยๆลดจำนวนลงจนเหลือเพียง 1,500 คน ในรัชกาลสุดท้ายก่อนที่ราชวงศ์ชิงจะล่มสลายเมื่อปี ค.ศ. 1991

     การตอนหรือการตัดอวัยวะเพศทิ้งก็ใช่จะให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือได้เสมอไป ข่าวลือเรื่องการลักลอบมีความสัมพันธ์กันระหว่างขันทีกับนางกำนัลก็มีให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง คนทั่วไปมองขันทีว่าเป็นพวกน่าสมเพช มักถูกดูหมิ่นอยู่เสมอ เพราะ การเป็นคนที่ไม่สามารถเพื่อมีบุตรสืบสกุลได้นั้นย่อมถูกเหยียดหยามเป็นธรรมดา ดังนั้นพวกขันทีที่มีอำนาจมากๆ ก็จะซื้อบ้านเอาไว้นอกพระราชวังหลวง ทำบันทึกอ้างอิงถึงการสืบทอดวงศ์ตระกูลลงมาเป็นรุ่นๆ โดยมีการซื้อสตรีและทารกมาเป็นภรรยาและบุตร ซื้อบ่าวทาสหรือแม้กระทั่งนางบำเรอหลายๆคนมาไว้ข้างกาย


     เขตพระราชวังชั้นใน (วังใน) ประกอบด้วยตำหนักเฉียนชิงกง เจียวไถ่เตี่ยน คุนหมิงกง ตำหนักตะวันออกและตะวันตก เป็นสถานที่ที่ฮ่องเต้ดำเนินการประจำวันทางการเมือง อาทิ ตรวจเอกสาร ลงพระนามอนุมัติ ตัดสินความ และเป็นสถานที่พักอาศัยของพระราชวงศ์ พระราชินี พระสนม พระโอรส และพระธิดา รวมไปถึงมีพระราชอุทยานของฮ่องเต้ เขตวังในจะมีพระตำหนักที่มีความสำคัญอยู่ 2 หลังคือ

     เฉียนชิงกง เป็นตำหนักด้านหน้าของวังใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ เพื่อตรวจเอกสารลงพระนาม อนุมัติราชการแผ่นดินประจำวัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1644 ทหารและชาวนาของหลี่จื้อเฉินทำการปฏิวัติ นำกำลังบุกเข้าปักกิ่ง ซึ่งตรงกับรัชกาลฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิง พระเจ้าจูหยิวเจี่ยนชักกระบี่ฟันพระธิดาของพระองค์จนขาดสะพายแล่ง แล้วทรงหนีออกจากพระราชวังไปแขวนคอตายที่ต้นสน ณ ภูเขาเหมยซาน(ปัจจุบันเรียกว่า ภูเขาจิ่งซาน) ซึ่งอยู่ด้านหลังพระราชวังหลวง

     หย่างซินเตี้ยน เป็นตำหนักอยู่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้ของวังใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ นัดพบปะพูดคุยกับพวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทั้งเรื่องการเมือง และการทหารในรัชสมัยพระเจ้าถงจื้อ และกวางซี่ใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการหลังม่านของพระนางซูสีไทเฮา รวมทั้งในสมัยฮ่องเต้องค์สุดท้าย เมื่อครั้งที่ ดร.ซุนยัดเซ็นทำการปฏิวัติ จักพรรดิปูยีก็ทรงสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1962 ณ ตำหนักแห่งนี้

     สำหรับประตูทางเข้าด้านหน้าของพระราชวังหลวงหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน ทางด้านทิศใต้ของพระราชวังจะมีซุ้มประตูไถ่เหอ แนวกำแพงวังประกอบด้วยประตูใหญ่อยู่ตรงกลาง ประตูเล็ก 2 ข้าง รวม 3 ประตู ประตูมีความลึกถึง 28 เมตร ประตูใหญ่ตรงกลางเป็นประตูเข้าเฉพาะฮ่องเต้เพียงพระองค์เดียว คนอื่นห้ามเดินออกเด็ดขาด ใครฝ่าฝืนเดินออกจะถูกประหารชีวิต คนอื่นเดินออกได้เพียงประตูเดียวเท่านั้น คือประตูด้านทิศเหนือชื่อ “เสินอู่เหมิน” (ประตูหลัง)

     ประตูใหญ่ตรงกลาง ในชั่วชีวิตของพระราชินีมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่จะได้เดินผ่านเข้าประตูนี้คือ วันอภิเษกสมรส นอกนั้นขุนนางและพระราชวงศ์ทุกพระองค์จะเดินเข้าพระราชวังทางประตูเล็กทั้งสองข้างเท่านั้น

     แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้


สนใจทัวร์ปักกิ่ง ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.doubleenjoy.com/ทัวร์เที่ยวจีน/ทัวร์ปักกิ่ง.aspx

ขอขอบคุณ ข้อมูล และภาพสวยๆ จาก
1. http://www.changnoi-holiday.com/china/forbidden.php
2. httpwww.earththaitravel.com
3. httpwww.fwdder.com
4. httpwww.wonder12.com

ปักกิ่ง - กำแพงเมืองจีน


ปักกิ่ง (กำแพงเมืองจีน)

          ประเทศจีน ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มรดกโลก หลากหลาย อีกประเทศหนึ่ง ทั้งทางด้วยสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และธรรมชาติ ซึ่งนักท่องเที่ยวมากมาย ให้ความสนใจ และเดินทางมาเยี่ยมชมกันไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลวันหยุดยาว พาครอบครัวมาพักผ่อน หรือพาเพื่อนมาเที่ยวเฮฮาปาร์ตี้ เชื่อมสัมพันธไมตรีกัน รวมถึงบริษัทฯ หลายแห่ง ที่จัดทริปเดินทางพาพนักงานมาเที่ยวประจำปี

          ปักกิ่ง ก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ พากันเดินทางมาท่องเที่ยว เยี่ยมชมตลอดทั้งปี ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย ชื่อเดิมคือ จี่ สมัยชุนชิวจ้านกั๋วเป็นเมืองหลวงของแคว้นยัน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชิ้อยันจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ยผิงและเป่ยจิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ  เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วนครเป่ยจิงมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี 2002 ทั่วนครเป่ยจิงมีประชากร 1,136,300 คน นครเป่ยจิงเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานจักรพรรดิสมัยราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก

          เมืองปักกิ่ง เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมที่มีประวัติ อันยาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน และเป็นหนึ่งในราชธานีโบราณทั้งหกของจีน มีแหล่งท่องเที่ยว ทั้งทางธรรมชาติ และโบราณสถานมากมาย และยังเป็นเมืองที่มีมรดกทางประวัติศาสตร์ที่เป็นสุดยอดของโลกหลายที่ เช่น ประตูเทียนอันเหมิน กับจัตุรัสเทียนอันเหมิน ที่เป็นจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นสัญลักษณ์ของปักกิ่ง และของประเทศจีนด้วย พระราชวังกู้กง (เมืองต้องห้าม) ซึ่งเป็น กลุ่มสิ่งก่อสร้างโบราณที่ใหญ่ที่สุดและครบสมบูรณ์ที่สุดของโลก กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดของสิ่งมหัศจรรย์ของโลก (กำแพงเมืองจีนปาตาหลิ่ง มีบางส่วนอยู่ที่ปักกิ่ง)

          
          กำแพงเมืองจีน ที่ถือว่า เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก มีระยะทางยาวกว่า 7,000 กิโลเมตร เป็นสิ่งก่อสร้างในกิจการป้องกันทางการทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและใช้เวลาสร้างนานที่สุดในโลกสมัยโบราณ เมื่อปี 1987 กำแพงเมืองจีนได้รับคัดเลือกให้เป็นมรดกโลก งาน สร้างสรรค์กำแพงเมืองจีนเริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช ผู้ปกครองของจีนในสมัยโน้นได้สร้างกำแพงเมืองเชื่อมป้อมและป้อมไฟสัญญาณแจ้งเหตุในเขตชายแดนเข้าด้วยกันเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนชาติส่วนน้อยในภาคเหนือ ถึงสมัยชุนชิวจ้านกั๋ว เจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ของจีนพากัน แย่งชิงความเป็นใหญ่ เกิดสงครามระหว่างกันไม่ขาดสาย จึงได้สร้างกำแพงเมืองตามเทือกเขาใน เขตชายแดนเพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้าม ถึงปี 221 ก่อนคริสต์ศักราชจักรพรรดิจิ๋นซีได้รวมจีนเข้าเป็นเอกภาพและได้เชื่อมกำแพงเมืองในแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนชาติ ส่วนน้อยแถบทุ่งหญ้าอันกว้างไพศาลในมองโกเลีย กำแพงเมืองจีนในสมัยนั้นมีระยะทางยาวกว่า 5,000 กิโลเมตร หลังจากนั้น ผู้ปกครองของจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นได้สร้างกำแพงเมืองจีนต่อจนมี ระยะทางยาวกว่า 10,000 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลากว่า 2000 ปี ผู้ปกครองของจีนในสมัยต่าง ๆ ต่างก็เคยสร้างกำแพงเมืองมากบ้างน้อยบ้าง รวม ๆ แล้วมีระยะทางยาวกว่า 50000 กิโลเมตร  ซึ่งสามารถล้อมโลกได้เกิน 1 รอบโดยทั่วไปแล้ว กำแพงเมืองจีนในปัจจุบันหมายถึงกำแพงเมืองจีนสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368 -ค.ศ.1644)ระหว่างด่านเจียอี้กวนในมณฑลกันซู่ทางภาคตะวันตกถึงริมฝั่งแม่น้ำยาลู่ในมณฑลเหลียวหนิงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ผ่าน 9 มณฑล นครและเขตปกครองตนเอง ของจีนโดยมีระยะทางยาวรวม 7300 กิโลเมตร เท่ากับ 14000 กว่าลี้ จึงได้ชื่อว่า กำแพงหมื่นลี้ โดยทั่วไปแล้ว ด้านนอกของกำแพงเมืองจีนก่อด้วยอิฐก้อนใหญ่และแกนหินข้างในถมด้วยดินเหลืองและเศษหิน ความสูงประมาณ 10 เมตร สันกำแพงเมืองจีนกว้าง 4 ถึง 5 เมตร ให้ม้า 4 ตัวไปพร้อมกันได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายทหาร ขนส่งอาหารและอาวุธยามศึก ด้านในของกำแพงเมืองมีประตูที่ทำบันไดหินไว้ การขึ้นลงสะดวกมาก ทั้งได้สร้างป้อมและป้อม จุดไฟสัญญาณแจ้งเหตุเป็นช่วง ๆ ป้อมเป็นที่เก็บอาวุธ อาหารและที่พักของทหาร ยามศึก ก็จะใช้เป็นที่กำบังได้ ถ้ามีศัตรูรุกเข้ามา ก็จะจุดไฟสัญญาณให้มีควันขึ้นบนป้อมแจ้งเหตุเพื่อส่งข่าว ไปยังทั่วประเทศทันที

          ปัจจุบัน กำแพงเมืองจีน ไม่มีสมรรถนะในการใช้เป็นป้อมรับศึกอีกแล้ว แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าทึ่งในฐานะสถาปัตยกรรมอันสง่างามอย่างหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ

          กำแพงเมืองจีน มีความหมายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและคุณค่าทางการท่องเที่ยวอย่างสูง  ผู้คนในจีนซึ่งรวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งจีนและต่างประเทศแม้กระทั่งผู้นำต่างประเทศด้วยมักจะกล่าวกันว่า ถ้า ไม่ได้ขึ้นกำแพงเมืองจีนก็ไม่ใช่ผู้กล้า กำแพงเมืองจีนหลายช่วงที่ได้รับการอนุรักษ์ค่อนข้างดี เช่น ป๋าต้าหลิ่ง ซือหม่าไถ มู่เถียนอี้ ด่านซานไห่กวน และด่านเจียอี้กวน เป็นต้นต่างก็เป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่มีชื่อเสียงมาก มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวกันสม่ำเสมอตลอดทั้งปี เมื่อปี 1987 กำแพงเมืองจีนได้รับคัดเลือกให้เป็นมรดกโลกในฐานะที่เป็น สัญลักษณ์ของประชาชาติจีน



สนใจทัวร์ปักกิ่ง กำแพงเมืองจีน ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.doubleenjoy.com/ทัวร์เที่ยวจีน/ทัวร์ปักกิ่ง.aspx

ขอขอบคุณ ข้อมูล และภาพสวยๆ จาก
1. http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter22/chapter220107.htm
2. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2b97c3626f13fd29&pli=1
3. httppirun.ku.ac.th
4. httpth.tripleasia.com
5. httpwww.xn--12c1bij4d1a0fza6gi5c.com

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทศกาลบ๊ะจ่าง (วันไหวขนมจ้าง)



เทศกาลบ๊ะจ่าง (วันไหวขนมจ้าง)



     เมื่อเดือนก่อน (มิถุนายน) ได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ประเทศจีน และได้ไปเที่ยวงาน เทศกาลหนึ่งของคนจีน เรียกว่า เทศกาลขนมจ้าง หรือเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

     เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของชาวจีน (อีก 2 เทศกาล ตรุษจีนและไหว้พระจันทร์) ที่ชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับเทศกาลนี้

     เทศกาลวันไหว้ขนมจ้าง (บ๊ะจ่าง) หรือเทศกาลตวนอู่เจี๋ย หรือเทศกาลตวงโหงว เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมานับแต่โบราณของประเทศจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ “โหงวเหว่ยโจ่ว” เป็นการระลึกถึงวันที่คุกง้วน หรือ ชีหยวน หรือจูหยวน ขุนนางผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ นอกจากนี้ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียน(แยงซีเกียง), ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่นแข่งเรือมังกร ที่เป็นการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ในเทศกาลไหว้ขนมจ้าง

     บ๊ะจ่าง หรือ “ขนมจ้าง” คือข้าวห่อด้วยใบไม้ เป็นอาหารจีน ทำด้วยข้าวเหนียวใส่หมูหรือหมูแดงกับถั่วหรือเม็ดบัวและเครื่องปรุงต่างๆ ผัดแล้วห่อด้วยใบไผ่มัดเป็นทรงพีระมิดสามเหลี่ยม บางที่ก็เป็นรูปสี่เหลี่ยม ใช้เชือกมัดแล้วนึ่งให้สุก ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็จะทำไส้แตกต่างกันไป โดยปกติบ๊ะจ่างจะมีการทำกันมากในเทศกาล วันไหว้ขนมจ้าง แต่ในปัจจุบันก็สามารถหาทานกันได้อย่างแพร่หลาย

     “บ๊ะจ่าง” เป็นชื่อเรียกในภาษาไทยตามคำเรียกในภาษาจีนฮกเกี้ยน ส่วนภาษาฮากกา หรือคากกา เรียกว่า “งียุกจุ้ง” หมายถึงขนมข้าวเหนียวไส้หมูห่อด้วยใบไผ่รูปสามเหลี่ยมมุมแหลมทรงพีระมิด บะจ่างเป็นขนมสัญลักษณ์ของเทศกาลไหว้เดือนห้า "อื้งเงียดเจี้ยด" หรือ "ตอนอึ้งเจี้ยด" ตรงกับปฎิทินทางจันทรคติวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี มีตำนานเล่าขานกันสืบต่อๆ กันมาหลากหลายเรื่องราว เช่น



     ตามตำนานหนึ่งเล่าว่า ชีหยวนเป็นขุนนางตงฉินที่มีความซื่อสัตย์ ยึดถือคุณธรรม กล้าพูดกล้าทำ ชอบช่วยเหลือชาวบ้าน ต่อมาถูกเหล่าขุนนางกังฉินกลั่นแกล้งจนถูกปลดตำแหน่ง และเนรเทศออกจากแคว้นฉู่ รัฐฉินจึงถือโอกาสเข้าโจมตีรัฐฉู่จนล่มสลาย ชีหยวนมีใจรักชาติแต่ไม่อาจทำสิ่งใดได้ จึงกระโดดแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) ตายในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นั่นเองชาวบ้านที่รู้เรื่องการตายของชีหยวน ระลึกถึงความดีของชีหยวน จึงได้ออกเรือเพื่อตามหาศพ ในขณะที่ค้นหาพวกเขาก็เตรียมข้าวปลาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำด้วย เพื่อล่อให้สัตว์น้ำมากิน จะได้ไม่ไปกัดกินซากศพของชีหยวน หลังจากนั้นทุกปีเมื่อครบรอบวันตายของชีหยวน ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกัง เมื่อทำมาได้สองปี ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝังเห็นชีหยวนที่มาในชุดอันสวยงาม และได้กล่าวขอบคุณชาวบ้านที่นำเอาอาหารไปโปรยเพื่อเซ่นไหว้ แต่ชีหยวนบอกว่าอาหารเหล่านั้นได้ถูกสัตว์น้ำกินเสียจนหมด เนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชีหยวนจึงแนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนนำไปโยนลงน้ำ ในปีต่อมาชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชีหยวนแนะนำ ชีหยวนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีกว่าได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชีหยวนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นไหว้ไปให้อย่างอิ่มหนำสำราญ จึงได้ถามชีหยวนว่าควรทำเช่นไรดี จึงได้คำแนะนำว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกร เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพระยามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน จึงทำให้เป็นที่มาของประเพณีการไหว้ขนมจ้าง(ขนมบ๊ะจ่าง)และประเพณีการแข่งเรือมังกร มาจนถึงปัจจุบัน


     อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ในสมัยจั้นกว๋อ ฉู่กั๋วและฉินกั๋วรบราช่วงชิงความเป็นใหญ่กัน และกวีชวีเหยียนเป็นที่โปรดปรานของฉู่อ๋อง แต่ทว่าความเห็นของชวีเหยียนถูกขัดขวางโดยขุนนางที่ไม่ซื่อสัตย์ และถูกใส่ความอยู่เสมอๆ จึงถูกฉู่อ๋องขับออกนอกเมืองไปอยู่แดนไกล ก่อนปี ค.ศ. 229 ฉินกั๋วเข้าโจมตีฉู่กั๋วและยึดครองได้ในเวลาต่อมา กวีชวีเหยียนรู้สึกโศกเศร้าอดสูใจมากที่ไม่อาจช่วยเหลือประเทศชาติได้จึงกระโดดแม่น้ำ “มี่หลัวเจียง” ฆ่าตัวตาย ผู้คนที่นับถือยกย่องรักใคร่กวีชวีเหยียนช่วยกันค้นหาศพแต่ก็ไม่พบ เพื่อป้องกันไม่ให้กุ้งปลามากินทำลายร่างกายของกวีชวีเหยียน จึงพากันช่วยโยนข้าวลงแม่น้ำทีละน้อยให้สัยว์น้ำต่างๆกินแทน ต่อมากวีชวีเหยียนได้เข้าฝันผู้คนว่าข้าวที่โยนลงแม่น้ำไปนั้นถูกพญานาคกินหมด ถ้าใช้ใบอ้ายหรืออ้ายเยี่ย ห่อข้าวแล้วมัดด้วยเชือก 5 สีก็จะป้องกันพญานาคกัดกินข้าวได้ ซึ่งเป็นที่มาของการใช้ใบอ้ายปักประตูบ้านเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจในวันไหว้บ๊ะจ่าง และเพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและความรักชาติของกวีชวีเหยียนจึงเกิดประเพณีไหว้บ๊ะจ่าง "อื้งเงียดเจี้ยด" หรือ "ตอนอึ้งเจี้ย" สืบทอดกันมาทั้งในประเทศจีนเองจนบางแห่งเกิดประเพณีการแข่งเรือ รวมทั้งชนชาติเกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จวบจนปัจจุบัน


     ใบอ้าย หรืออ้ายเยี่ย Artemisia annua เป็นพืชล้มรุกที่มีหลายสายพันธ์ และเป็นพืชสมุนไพรยอดนิยมของคนฮากกาที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณนับพันปีเรียกว่า “แง้ยยับ หรือแง้ยับ แล้วแต่สำเนียงท้องถิ่นใด ใบอ้ายมีสรรพคุณทางยามากมายที่ได้รับการยืนยันแล้วโดยแพทย์แผนปัจจุบันของจีนและยังมีสารต้านมาลาเรียที่ดื้อยาที่ดีที่สุดอีกด้วย โดยเอกชนฝรั่งเศษเป็นผู้ได้รับสิทธิวิธีตรวจวัดสารต้านมาลาเรียจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่เพียงผู้เดียว ใบอ้ายยังสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารคาวหวานที่อร่อยได้หลายชนิด คนฮากกาในประเทศไทยที่เคลื่อนย้ายเข้ามาในยุคก่อนได้นำเมล็ดพันธุ์ติดตัวมาด้วย จึงเชื่อว่ามีปลูกกันทั่วไปเมื่อย้อนไปก่อน 20-30 ปีที่แล้ว แต่เนื่องจากไม่ได้รับการสืบทอดจากคนฮากการุ่นหลัง ปัจจุบันคงสาบสูญไปมากแล้ว 

     จากตำนานเล่าขาน กลายเป็นประเพณีการไหว้โหงวเหว่ยโจ่ว ซึ่งจะมีในช่วงเดือน 5 ของจีน ตรงกับฤดูร้อน ช่วงนี้จะมีการไหว้เจ้าด้วยขนมบ๊ะจ่าง สาเหตุที่ไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่าง เพราะเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อาหารมักเก็บได้ไม่นาน เน่าเสียง่าย แต่บ๊ะจ่างที่ทำจากข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น และการไหว้ด้วยขนมบะจ่างในช่วงฤดูร้อนจะทำให้มีความเป็นอยู่ดี เมื่อไหว้เสร็จคนจีนจะเอาไปชุบน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดงเพื่อนำมารับประทาน อันถือว่าจะทำให้เกิดสิ่งมงคลต่างๆ นักวิชาการบางท่านยังมีความเห็นประการอื่นเกี่ยวกับที่มาของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ในหนังสือรวมบทความของท่านเหวินยีตัว กล่าวว่า การที่มีการแข่งเรือ และรับประทานบ๊ะจ่างในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างนั้น ต่างก็มีความสัมพันธ์กับมังกร เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างที่จริงแล้วคือเทศกาลมังกร เป็นเทศกาลพิเศษเพื่อที่จะระลึกถึงมังกร 

     ยังมีนักวิชาการบางคนเห็น ว่า เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างนี้มีที่มาจากตำนานวันที่ไม่เป็นมงคล จากบันทึกในตำรา โบราณกล่าวว่า ชาวบ้านต่างก็มีคำกล่าวว่า ไม่ควรกล่าวถึงเดือน 5 และไม่เลี้ยงเด็กที่เกิดเดือน 5 อีกด้วย ตำนานกล่าวว่าในสมัยจั้นกว๋อ เมิ่งฉางจวิน แห่งรัฐฉีเกิดในวันที่ 5 เดือน 5 บิดาไม่ให้เลี้ยงไว้ และนำไปทิ้งเสีย เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเกิดในวันที่ไม่เป็นมงคล ในขณะที่เมิ่งฉางจวินเสียชีวิต ชวีหยวนยังคงมีชีวิตอยู่ ดังนั้นจึงได้ให้วันที่ 5 เดือน 5 เป็นวันที่ระลึกถึงสิ่งอันไม่เป็นมงคล เห็นได้ชัดว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับชวีหยวนแม้แต่น้อย นอกจากนี้ อ้ายเฮา และชางผู่ ต่างก็เป็นหญ้าสมุนไพร การที่นำหญ้าทั้ง 2 ชนิดนี้แขวนไว้ที่ประตูเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย เป็นคำกล่าวที่สมเหตุสมผลมากกว่า ความเชื่อที่ว่าเพื่อใช้เรียกวิญญาณชวีหยวนให้มาปรากฏกายมากนักแน่นอนว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงเทศกาลไหว้บะจ่าง เรื่องราวที่ผู้คนจะนึกถึงเป็นสิ่งแรก ก็ยังคงเป็นเรื่องของชวีหยวนอยู่นั่นเอง
 
     เทศกาล ของการไหว้บะจ่าง คนจีนจะไหว้ในตอนเช้า โดยไหว้ด้วยธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก การไหว้ด้วยธูป 5 ดอก เพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ พ่อแม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเข้าหลัก 5 ธาตุ หรือ โหงวเฮ้ง ของจีน ประกอบด้วย ธาตุดิน ทอง น้ำ ไม้ และไฟ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวกับวิถีชีวิตโดยตรง





ขอบคุณข้อมูล และภาพสวยๆ จาก
1.http://www.manager.co.th
2.http://hakkapeople.com
3.http://scoop.mthai.com
4.http://www.mtts24.com
5.http://www.painaidii.com