วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

อู่ฮั่น ประเทศจีน



อู่ฮั่น

          อู่ฮั่น (Wuhan, หวู่ฮั่น) เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย (Hubei) และเป็นเมืองใหญ่สุดในมณฑลเหอเป่ย์ มีพื้นที่ 8,467.11 ตร.กม.มีประชากรประมาณ 8.1 แสนคน เป็นที่ตั้งของท่าเรือใหญ่ที่สุดของ แม่ย้ำแยงซีเกียงตอนล่าง มีประวัติยาวนานกว่า 3,500 ปี เป็นที่ตั้งของท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของแม่น้ำแยงซีตอนล่าง เมื่อก่อนมีชื่อเสียงในการผลิตอาวุธสงครามปัจจุบันสินค้าที่สร้างรายได้คือ อาวุธ เครื่องจักร น้ำมันพืช เป็นต้น
          เมืองอู่ฮั่น เป็นผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์เพราะมีแม่น้ำสำคัญ 2 สายไหลผ่าน คือ แยงซีเกียง และ ฮั่นซุย อาหารเด็ดของที่นั่นจึงเป็นเมนูที่ทำจาก “ปลาอู่ชัง”
          อากาศโดยทั่วไปก็เหมือนบ้านเรา ร้อนอบอ้าว ทั้งๆ ที่มีหมอกลง เพราะเป็นเมืองใกล้แม่น้ำสายใหญ่ ถ่ายรูปยังไง๊ ฟ้าก็ไม่มีสีฟ้า แถมยังได้ชื่อว่าเป็น เมืองเตาไฟ เพราะเคยร้อนสุดถึง 40 องศา!


          ตามรอยสามก๊กที่ ผาแดง หรือ ชื่อปี้ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองชื่อปี้ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 36 กิโลเมตร ริมฝั่งแม่น้ำแยงซีด้านใต้ ที่จริงแล้วชื่อเดิมคือเมือง “ผูฉี” อยู่ในมณฑลหูเป่ย เพิ่งได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “ชื่อปี้” เมื่อปี ค.ศ.1998 ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ในสงครามรบนั่นเอง จุดที่ทัพพันธมิตรของซุนกวนและเล่าปี่ผนึกกำลังเข้าสู้ รบกับทัพของโจโฉซึ่งนักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่าเป็นบริเวณที่ตรงตามประวัติศาสตร์มากที่สุด สงครามครั้งนั้นทำให้หน้าผาแห่งนี้ปรากฏเป็นสีแดงเพลิง ปัจจุบันผาแดงแห่งนี้ กำลังพัฒนาให้ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์มีสิ่งปลูกสร้างตามประวัติศาสตร์ เช่น แท่นเรียกลม หอบัญชาการรบ ฐานทัพของง่อก๊ก ส่วนอีกด้านหนึ่งกำลังอยู่ ระหว่างการก่อสร้างเมืองจำลองของเล่าปี่ โดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ เริ่มสร้างเมื่อปี 2007 และมีกำหนดเสร็จในเดือนตุลาคม 2009


          หอหวงเห่อโหลว (Huang He Lou) หรือ “หอนกกระเรียนเหลือง” (Yellow Crane Tower) หอที่สวยที่สุดใน อู่ฮั่น และสวยที่สุดติด 1 ใน 3 ของจีน หอสูง 5 ชั้น สร้างเมื่อปี ค.ศ.223 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฉางเจียง ทางตะวันตกของเมืองอู่ชัง ในยุคสมัยสามก๊ก โดยเชื่อว่าผู้สร้างคือซุนกวงซึ่งอยู่ในช่วงยัง ไม่ได้สถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งง่อก๊กใช้เป็นหอสังเกตการณ์ข้าศึก ผ่านการบูรณะซ่อมแซมความเสื่อมโทรมของหอเรื่อยมา มีการสร้างใหม่นับครั้งไม่ถ้วน ได้รับการบูรณะอย่าง จริงจังถึง 4 ครั้ง ภายในหอตกแต่งด้วยกระเบื้องรูปนกกระเรียน
          มีตำนานกันถึง หอนกกระเรียน ว่าเดิมที่ตรงนี้เป็นร้านเหล้า วันหนึ่งเจ้าของร้านได้เลี้ยงเหล้านักพรตท่านหนึ่ง นักพรตจึงตอบแทนด้วยการใช้เปลือกส้มวาดรูปนกกระเรียนสีเหลืองที่ผนังร้าน อัศจรรย์ตรงที่เมื่อมีเสียงปรบมือ นกกระเรียนในภาพจะออกมาร่ายรำ เป็นที่ล่ำลือจนกิจการร้านนี้ดีขึ้น และหลายปีต่อมา นักพรตกลับมาเยือนที่ร้านอีกครั้ง และขี่นกกระเรียนบินจากไป ด้วยความรำลึกถึง เจ้าของร้านเหล้าจึงสร้าง หอนกกระเรียนนี้ขึ้น
          ปัจจุบันเป็นหอที่สร้างใหม่ในลักษณะอาคารแบบดั้งเดิม เป็น 1 ใน 3 หอสวย ที่มีชื่อของจีน (หอเอี้ยหยาง มณฑลหูหนาน หอเถิงหวังเก๋อ มณฑลเจียงซี) จัดเป็นหอแสดง งานเขียนอักษรจีนและจิตรกรรม และยังเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำแยงซีเกียงของชาวเมืองอีกด้วย


          พิพิธภัณฑ์อู่ฮั่น เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ระดับมณฑล จัดแสดงโบราณวัตถุล้ำค่า ที่ขุดค้นพบจากสุสาน กว่า 200,000 ชิ้น ส่วนมากเป็นเครื่องทองสัมฤทธิ์ เช่น ระฆังราว เสื้อหยก ที่ขุดพบที่หม่าหวางตุย กลองสัมฤทธิ์ โถ จอก เหล้า ตะเกียง เครื่องประดับ และเครื่องสัมฤทธิ์อื่นๆ มากมาย โดยเมื่อเคาะจะได้ยินเสียงกังวานไพเราะ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีช่างคนใดสามารถหล่อระฆังเช่นนี้ได้
          พื้นที่ของ พิพิธภัณฑ์มณฑลหูเป่ย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของนิทรรศการ และส่วนของการแสดงดนตรี ในส่วนนี้ความพิเศษอยู่ที่ความไพเราะของ ระฆังเปียนจง เครื่องดนตรีที่แฝงไปด้วยประวัติศาตร์


         วัดกุยหยวน (Guiyuan Temple) วัดในปลายสมัยราชวงศ์หมิง ภายในมีรูปปั้นอรหันต์และเหล่าสาวกในอิริยาบถแตกต่างกัน วิหารหลังใหญ่เป็นที่ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมและพระอรหันต์ 500 องค์ปั้นจากดินเหนียวเคลือบด้วยสีทอง โดยทางวัดไม่อนุญาตให้จุดธูปภายในวัด


          สะพานข้ามแม่น้ำแยงซี (Wuhan Yangtze Great Bridge)ของ อู่ฮั่น ซึ่งมีทั้งหมด 7 สะพาน และ 1 อุโมงค์ ที่สำหรับใช้ข้ามแม่น้ำสายยักษ์ ต้องบอกว่ากว้างใหญ่กว่าเจ้าพระยาบ้านเราหลายเท่า สะพานนี้ถือเป็น สะพานข้ามแม่น้ำแยงซีแห่งแรก สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 1957 รวมความยาว 1.6 กิโลเมตร เป็นสะพานสองชั้น ชั้นบนเป็นถนน 4 เลน ชั้นล่างเป็นทางรถไฟรางคู่ เดิมทีแผนการสร้างสะพานจะมีขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1910 แต่จากสภาพเศรษฐกิจ สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองทำให้แผนการต้องเลื่อนออกไปจนกระทั่งเดือนกันยายนปี 1955 จึงได้เริ่มสร้างสะพาน

          เห็นสะพานและถนนเส้นต่างๆ ของพี่จีน ต้องยอมรับว่าสวยจริงๆ ช่วยให้บ้านเมืองเจริญหูเจริญตาเป็นอย่างมาก และแม้เทคโนโลยีจะโตแค่ไหน แต่ต้นไม้บ้านเขาก็โตตามด้วย ทุกมุมทุกหย่อมของถนนจะมีสีเขียวแฝงให้เรารู้สึกสบายตาเสมอ


          ทิ้งท้าย อู่ฮั่น หนึ่งสีสันแห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วย วิถีเล็กๆ ชีวิตยามเช้าของชาว อู่ฮั่น
คนส่วนใหญ่ที่ประเทศจีนนิยมอยู่คอนโด หรือ บางแห่งก็หน้าตาประมาณแฟลตบ้านเรานี่แหละ เหตุเพราะพื้นที่ทั้งหมดเป็นของรัฐ และไม่มีอาคารใดที่คงอยู่ถาวร บางแห่งจะมีเลขติดไว้ที่ตัวตึกเลย เช่น 70 ก็หมายถึง ตึกนึ้จะถูกทุบทิ้ง เมื่ออายุครบ 70 ปี โดยที่รัฐบาลอาจมีโครงการปรับเปลี่ยนไปสร้างอย่างอื่นที่คิดว่าสำคัญ หรือเหมาะสมแทน และจะมีการแจ้งลูกบ้านให้ทราบตั้งแต่เข้าอยู่ และหาที่อยู่ใหม่ให้ก่อนจะทำลายทิ้ง นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ชาวอู่ฮั่นอยากจะออกจากห้องสี่เหลี่ยม มาสูดอากาศภายนอก ตั้งสมาคม พูดคุยกันตามสวนสาธารณะ (สวนสาธารณะบ้านเขาค่อนข้างเยอะมาก ที่หนึ่งรัฐบาลจัดไว้ให้ทอดยาวขนานกับแม่น้ำ)

         สะพานลอยที่ อู่ฮั่น จะไม่ค่อยชัน และส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นฝั่งขั้นบันได และพื้นเรียบ เพื่อให้จักรยาน หรือ รถเข็นคนพิการใช้สัญจรได้ ถือเป็นแนวคิดที่ดี เราจึงไม่แปลกใจว่าชาวเมืองนี้รักการเดินและสุขภาพแข็งแรงมาก
           บรรยากาศยามเช้า บริเวณถนนเจียงฮั่น อารมณ์คล้ายๆ ห้างแบบเปิด เพราะสองข้างทางจะเรียงรายด้วยร้านขนม ร้านเสื้อผ้าแบรนด์เนมต่างๆ ยามเช้าก็เป็นที่สมาคมของคนทุกวัย แต่จะหนักไปทางผู้สูงอายุ ส่วนยามค่ำคืนก็คึกคักด้วยแสงไฟ และตลาดนัด
          มาถึงสีสันยามเช้า ที่มีแทบทุกมุมถนน อย่าง บะหมี่กานเย่อเมี่ยน เป็นอาหารยอดฮิตและขึ้นชื่อของ อู่ฮั่น ไปที่นี่ต้องลอง แต่ลองแล้วอาจไม่ถูกปากคนบ้านเราเท่าไหร่นัก เพราะมันเผ็ดแปลกๆ บอกไม่ถูก ส่วนผสมก็ผักนั่นผักนี่ ราดน้ำเผ็ดๆ อันเป็นเอกลักษณ์ พี่เขากินกันอย่างออกรส จะให้ถึงวิถีแท้ต้องกินคู่กับปาท่องโก๋ยักษ์ ต่อคิวกันยาวมาก บางคนถึงกับรอไม่ไหว ซัดปาท่องโก๋ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว! โต๊ะที่ร้านก็คือเก้าอี้นี่แหละ ง่ายๆ ไวๆ เพราะเวลามีไม่เยอะ อิ่ม สะดวก แถมทันเวลาเข้างานพอดี
          แล้วพบกันใหม่ตอนหน้านะค่ะ วันนี้ราตรีสวัสดิ์ค่ะ......Z z z z z z z z z z z z z



ขอขอบคุณข้อมูล และภาพสวยๆ จาก
1. www.thaibizchina.com
2. www.oceansmile.com
3. travel.mthai.com
4. www.wonder12.com
5. www.abroad-tour.com